วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

WEEK 10 : Enterprise System, Supply Chain Management ,Enterprise Resource Planning

เนื่องจาก Traditional information system ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างอัตโนมัติ และโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะแบ่งส่วนงานตามฝ่ายงานจึงทำให้ข้อมูลไม่มี unity เพราะฉะนั้นจึงแก้ปัญหาด้วยการนำ Enterprise Systems

Enterprise Systems
                คือ ระบบที่ใช้ทั้งองค์กร เพื่อใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน ทำให้การทำงานสะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยรวมเอา Business Process หลักๆขององค์หารเข้ามารวมไว้เป็นหนึ่งเดียว
-    Provide an electronic order form
-    Apply business rules
-    Routing the order for approvals
-    Sending the order to a buyer
-    Connecting to the supplier
-    Use data to receive goods, project funding requirements, compare to budget, and analyze vendor

อุปสรรคของการนำ Enterprise Systems มาใช้ในองค์กร     
1)        ระบบยังมีราคาแพง
2)        บางองค์กรยังมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะใช้ระบบ
3)        ผู้ทำงานไม่อยากที่จะนำระบบใหม่มาแทนระบบเดิมของตนเองที่ทำมาเป็นเวลานานแล้ว

ประโยชน์ของ Enterprise Systems
  • ช่วยให้การทำงานระหว่างระบบต่างๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายขึ้น, พนักงานสามารถค้นหาข้อมูลเพื่อให้บริการลูกค้าได้ทันที, พนักงานจัดซื้อสามารถรับทราบถึงความต้องการของวัตถุดิบที่ต้องการในเวลาต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น
  • ช่วยให้การ outsource ทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีระบบข้อมูลที่ดี ทำให้การติดต่อระหว่าง supplier ในประเทศต่างๆ รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น
Enterprisewide Systems
•       ERP
•       CRM
•       Knowledge Management Systems (KMS)
•       Supply Chain Management (SCM)
•       Decision Support Systems (DSS)
•       Business Intelligence (BI)

        Supply Chain Management
                        เป็นกระบวนการตั้งแต่ที่บริษัทได้รับวัตถุดิบมาจาก Supplier ไปจนถึงการที่บริษัทส่งสินค้าไปจนถึงลูกค้า โดยระบบสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทช่วยจัดการภายใน Supply Chain มีความราบรื่น โดยระบบย่อยๆ ที่ใช้ภายใน Supply Chain ไดแก่
·   Warehouse Management System (WMS) ระบบที่ใช้เพื่อบริหารสินค้าในคลัง เช่น จำนวน การวางสินค้าให้ประหยัดพื้นที่มากที่สุด การเข้าออกของสินค้า
·   Inventory Management System (IMS)  ระบบที่ใช้เพื่อจัดการสินค้าคงเหลือ
·   Fleet Management system ระบบการบริหารการส่งของ สำหรับเช็คว่ามีการส่งของในแต่ละที่เท่าไหร่ อาจมีการใช้ระบบ RFID ร่วมด้วย ในการตรวจสอบการส่งของ รวมถึงขากลับจะขนสินค้าอะไรกลับมา และส่งข้อมูลกลับมาถึงภายในสำนักงานเพื่อรายงานการขนส่งสินค้าที่รวดเร็ว
·   Vehicle Routing and Planning คำนวณเส้นทางเดินรถขนส่ง เพื่อเลือกเส้นทางที่ efficient มากที่สุด เช่น ประหยัดน้ำมัน ประหยัดเวลาที่สุด การจราจรที่ดีที่สุด
·   Vehicle Based System บริหารจัดการรถบรรทุกในการตรวจสอบสถานะ สถานที่การเดินทางที่อยู่ปัจจุบัน เช่น ระบบ GPS ตรวจจับสถานที่
10 Trend for logistics Supply Chain Management
1.Connectivity เป็นระบบคล้าย wifi แต่มีความแรงกว่าแบบปกติประมาณ 10 เท่า ทำให้ครอบบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า
2.Advanced Wireless :Voice & GPS คือ wireless ที่เป็นแบบ advance มีการใช้เสียง ซึ่งจะพบอยู่บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ขนาดเล็ก สามารถพกพาได้
3.Speech Recognition เป็นการสั่งงานด้วยเสียง
4.Digital Imaging เป็นการประมวลผลภาพดิจิตอล ซึ่งสามารถเชื่อมต่อได้อย่างรวดเร็ว เช่นบริษัทประกันสามารถถ่ายภาพแล้วส่งเข้าบริษัท ออกใบเสร็จได้ทันที
5.Portable Printing การพิมพ์แบบเคลื่อนที่ มีการใช้งานเครื่องพิมพ์แบบพกพาที่ทนทานเป็นประจำเพื่อให้ได้เอกสารอ้างอิง เมื่อต้องการใช้งาน สำหรับการใช้งานทั่วไป ได้แก่ การจัดเตรียมใบส่งสินค้าที่มีการลงนาม ใบสั่งซื้อ ใบสั่งงาน และรายการการตรวจสอบ การใช้เครื่องพิมพ์และคอมพิวเตอร์แบบพกพาร่วมกันจะทำให้ลูกค้าสามารถมี เอกสารที่เขาต้องการ
6.2D & other barcoding advances เป็นบาร์โค้ด 2 มิติ เช่น QR Code
7.RFID เป็นชิพตัวเล็กๆ ฝังอยู่ในแถบสินค้า หรือทำเป็นบัตร ซึ่งสามารถส่งสัญญาณออกมาด้วยตัวเองได้ เช่น บัตรทางด่วน easy pass, tag ในคลังสินค้า
8.Real Time Location System: RTLS ระบบแสดงตำแหน่งในเวลาจริง ระบบแสดงตำแหน่งในเวลาจริง (RTLS) ทำให้องกรสามารถขยายเครือข่ายแลนไร้สายขององกรเข้าสู่ระบบการติดตามสินทรัพย์
9.Remote Management การจัดการทางไกล เป็นระบบที่คอยควบคุมจากระยะไกลได้ โดยใช้ wireless LAN เข้ามา10.Security เป็นเรื่องความปลอดภัยของระบบไร้สาย เพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลขององค์กร
***อย่างไรก็ตาม Supply Chain Management ก็ยังคงมีประเด็นตรงที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันในการแบ่งปันข้อมูลแก่กัน เพื่อให้การจัดการสามารถทำได้อย่างต่อเนื่องและถูกต้อง รวมทั้งต้องอาศัยความไว้วางใจซึ่งกันและกัน

ERP : Enterprise Resource Planning Systems
          ปกติบริษัทจะซื้อเป็นส่วนๆ ของแต่ละฝ่าย ไม่ซื้อทั้งหมด เพราะว่าราคาแพงมาก และผู้ใช้เดิมต้องเรียนรู้เพิ่มจากเดิมมาก ตัวอย่างของ ERP เช่น SAP, Oracle, PeopleSoft เป็นต้น

Major ERP Modules
  • Sales and Distribution (Records customer orders, shipping, billing, connections, based on SAP)
  • Material Management
  • Financial Accounting
  • Human Resources (Recruiting, payroll)
  • Third-Party (CRM, Customer Self-Service, Sales Force Automation)


Augmented Reality
เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่อาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และระบบเสมือนจริง (Virtual Reality) โดยที่วัตถุเสมือนนั้นๆ จะถูกสร้างมาผสมกับสภาพในโลกจริงในรูป 3D และแสดงผล แบบ real time โดยสามารถใช้งานผ่านทางอุปกรณ์ Webcam, กล้องมือถือ, Computer รวมกับการใช้ software ต่างๆ ซึ่งจะทำให้ภาพที่เห็นในจอภาพจะเป็น 3 มิติ

Mobile Operating System
Operating System เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป มีหน้าที่หลัก ๆ คือ จัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน

ระบบปฏิบัติการมือถือหลักๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้แก่
1.         Symbian OS (Nokia)
2.         BlackBerry OS (RIM OS)
               
3.         iPhone OS (Iphone+Ipod+Ipad)
4.         Windows Phone / Windows Mobile OS
5.         Android
            ซึ่งจากการสำรวจตลาด Mobile OS ของ IDC พบ ว่า ในปี 2010 Symbian จะยังคง Market Share อันดับหนึ่ง ตามมาด้วย BlackBerry OS และ Android ที่มี Market Share ใกล้เคียงกัน แต่แนวโน้มในอนาคตคาดว่า Android จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น แม้ว่ายอดขายโทรศัพท์มือถือของ Apple กับ BlackBerry จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนแบ่งการตลาดในอนาคต RIM และ IOS อาจจะไม่ได้เพิ่มสูงขึ้นมากนัก

Video Telepresence
           Telepresence เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนามาจากระบบวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นในปีค.ศ.1960 และ เริ่มใช้งานจริงในปีค.ศ.1980 ซึ่งโดยหลักการแล้ว เทเลพรีเซ็นส์ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานเดียวกับวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ แต่มีความต่างขององค์ประกอบของระบบที่ชัดเจน 3 ด้าน คือ network technologies, conference hardware, conference software จึงทำให้ Telepresence ได้ภาพที่สมจริงกว่า

Service-oriented Architecture

หมายถึง สถาปัตยกรรมเชิงบริการ เป็นแนวคิดการออกแบบและวางโครงสร้างของซอฟต์แวร์ขององค์กรขนาดใหญ่ในลักษณะ ที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถหยิบเอาเฉพาะเซอร์วิส (Service) ที่ต้องการซึ่งเป็นองค์ ประกอบของซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ มารวมกันเป็นแอพพลิเคชันใหม่ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่างได้อย่าง ยืดหยุ่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตามหลักการของการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusability)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น